Marie - The Aristocats 3

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
 วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
  • ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอนักทฤษฎีการเคลื่อนไหวทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
  • กลุ่มที่หนึ่ง ด้านสังคม นักทฤษฎีคือ แบนดูร่า , อิริคสัน
  • ทฤษฎีของอิริคสัน อิริสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นในแนวคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสําคัญของทางด้านสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอิริสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่าเห็นความสําคัญ ของEgo มากว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุที่อิริสันเน้นกระบวนการทางสังคมว่าเป็นจุดกระตุ้นหล่อหลอมบุคลิกภาพ เขาจึงได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า เป็นทฤษฏีจิตสังคม                                                                                                อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ
ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้
ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง 
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด
วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความ คิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆจะสนุกจากการ สมมุติของต่างๆเป็นของจริงเช่นอาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ขับรถยนต์ เหมือนผู้ใหญ่ 
***สามขั้นแรกเป็นขั้นพัฒนาการที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย***
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง 
ทฤษฎีของอิริสัน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
ตามทฤษฎีอาจกล่าวได้ว่าเด็กมักมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ต้องการที่จะเรียนรู้และทำอะไรด้วยตนเอง และในวัยนี้มักมีการเคลื่อนไหวจากการเล่น ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้                     
  • ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา อัลเบิร์ต แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมบุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลนั้น และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นบุคคลเกิดการเรียนรู้โดยการให้ตัวแบบ โดยผู้เรียนจะเลียนแบบจากตัวแบบ และการเลียนแบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบ การสังเกตการณ์ตอบสนองและปฏิกิริยาต่าง ๆ ของตัวแบบ สภาพแวดล้อมของตัวแบบ ผลการกระทำ คำบอกเล่า และความน่าเชื่อถือของตัวแบบได้ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 กระบวนการ 
1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ (Attentional Process) 
         กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กได้สังเกตตัวแบบ และตัวแบบนั้นดึงดูดให้เด็กสนใจที่จะเลียนแบบ ควรเป็นพฤติกรรมง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน ง่ายต่อการเอาใจใส่ของเด็กที่เกิดการเลียนแบบและเกิดการเรียนรู้
2. กระบวนการคงไว้ (Retention Process) 
           คือ กระบวนการบันทึกรหัสเป็นความจำ การที่เด็กจะต้องมีความแม่นยำในการบันทึกสิ่งที่ได้เห็นหรือได้ยินเก็บเป็นความจำ ทั้งนี้ เด็กดึงข้อมูลที่ได้จากตัวแบบออกมาใช้กระทำตามโอกาสที่เหมาะสม เด็กที่มีอายุมากกว่าจะเรียนรู้จากการสังเกตการณ์กระทำที่ฉลาดของบุคคลอื่น ๆ ได้มากกว่า โดยประมวลไว้ในลักษณะของภาพพจน์ และในลักษณะของภาษา และเด็กโตขึ้นนำประสบการณ์และสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมโยงและต่อมาจะใช้การเรียนรู้มีเทคนิคที่นำมาช่วยเหลือความจำ คือ การท่องจำ การทบทวน หรือการฝึกหัด และการรวบรวมสิ่งที่เกี่ยวพันกันในเหตุการณ์ ซึ่งจะช่วยให้เขาได้เก็บสะสมความรู้ไว้ในระดับซึ่งสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ
3.กระบวนการแสดงออก
           คือการแสดงผลเรียนรู้ด้วยการกระทำคือ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้จากตัวแบบต่างๆ
4. กระบวนการจูงใจ (Motivational Process) 
          คือ กระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบได้ถูกต้อง โดยเด็กเกิดการเรียนรู้จากการเรียนรู้จากการเลียนแบบตัวแบบที่จะมาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงมากกว่าบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียง จากการเลียนแบบตัวแบบที่มาจากบุคคลที่เป็นเพศเดียวกับเด็กมากกว่าจะเป็นเพศตรงข้ามกัน จากการเลียนแบบตัวแบบที่เป็นรางวัล เช่น เงิน ชื่อเสียง สถานภาพทางเศรษฐกิจสูง จากพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกลงโทษ มีแนวโน้มที่จะไม่ถูกนำมาเลียนแบบ และจากการที่เด็กได้รับอิทธิพลจากตัวแบบที่มีความคล้ายคลึงกับเด็ก ได้แก่ อายุ หรือสถานภาพทางสังคม
ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร                                                     คือ เมื่อเด็กเห็นในสิ่งต่างๆที่ไม่เคยเห็น ไม่ว่าจะเป็นในทีวี ในบ้าน หรือว่านอกบ้าน สิ่งต่างที่เด็กเห็นนั้นล้วนมีการเคลื่อนไหว แสดงท่าทางต่างๆ แล้วเมื่อเด็กจะสังเกตุ สมองของเด็กจะมีการจดจำในสิ่งพวกนั้น แล้วนำมาทำตามหรือเรียกว่า "เลียนแบบ“ จนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวตามสิ่งต่างๆ


  • กลุ่มที่สอง ด้านร่างกาย นักทฤษฎีคือ ฟรอยด์ , กีเซล 
  • ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของอาร์โนลด์ กีเซลล์
    กีเซลล์ กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำหรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการจัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว การทำ งานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆของร่างกาย
    กีเซลล์  ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
     1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว  เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด 
     2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ ประสานงานระหว่างตากับมือ 3. พฤติกรรมทางด้านภาษา จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและ
     4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง 
   

  •  กลุ่มที่สาม ด้านสติปัญญา นักทฤษฎี คือ เพียเจต์ , บรูเนอร์
  • ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
    เพียเจต์ (Piaget. 1964) อธิบายว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของคนมีลักษณะเดียวกันในช่วงอายุเท่ากันและแตกต่างกันในช่วงอายุต่างกัน พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมโดยบุคคลพยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลด้วยการใช้กระบวนการดูดซึมและกระบวนการปรับให้เหมาะสมจนทำให้เกิดการเรียนรู้โดยเริ่มจากการสัมผัสต่อมาจึงเกิดความคิด
    ทางรูปธรรมและพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ
             เพียเจต์ถือว่าการให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆ จะส่งเสริมให้เด็ก
    เกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการรับรู้
    เป็นสื่อในการกระตุ้นทางความคิดของเด็ก จำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหว
    และสัมผัสสิ่งต่างๆ ทฤษฎีนี้เป็นประโยชน์ในการจัดเนื้อหา
    กิจกรรมทางการเคลื่อนไหว โดยให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก
    ซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งใหม่

  • กลุ่มที่สี่ ด้านความคิดสร้างสรรค์ นักทฤษฎีคือ กิลฟอร์ด , ทอร์แรนซ์ , Divito
  • อี พอล ทอร์แรนซ์ (E. Paul Torrance) นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
    Torrance  เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่งทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ได้สร้างทฤษฎีและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก เขากล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงออกตลอดกระบวนการของความรู้สึกหรือการเห็นปัญหาการรวบรวมความคิดเพื่อตั้งเป็นข้อสมมติฐาน การทดสอบ และดัดแปลงสมมติฐานตลอดจนวิธการเผยแพร่ผลสรุปที่ได้ความคิดสร้างสรรค์ จึงเปนกระบวนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง และทอร์แรนซ์เรียกกระบวนการลักษณะนี้ว่ากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคค์หรือ  “The creative problem solving process”

    กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบ่งออกได้ 5 ขั้นตอนดังนี้
    ขั้นที่ 1 การพบความจริง (Fact – Finding) ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกกังวล มีความสับสน วุ่นวาย เกิดขึ้นในจิตใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร จากจุดนี้ก็พยายามตั้งสติ และหาข้อมูลพิจารณาดูว่าความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน หรือสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้นคืออะไร
    ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ( Problem – Finding) ขั้นนี้เกิดต่อจากขั้นที่ 1 เมื่อได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงเข้าใจและสรุปว่า ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือ การเกิดปัญหานั่นเอง
    ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ( Idea – Finding ) ขั้นนี้ต่อจากขั้นที่ 2 เมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามคิดและตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
    ขั้นที่ 4 การแก้ปัญหา ( Solution – Finding) ในขั้นนี้จะพบคำตอบจากการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
    ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ( Acceptance – finding) ขั้นนี้เป็การยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว่าน่าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้อย่างไร แต่ต่อจากจุดนี้การแก้ปัญหาหรือการค้นพบยังไม่จนตรงนี้ แต่ผลที่ได้จากการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปที่เรียกว่า New Challent
    Torrance ได้กําหนดขั้นตอนของความคดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ขั้นดังนี้
    1. ขั้นเริ่มคิด คือ ขั้นพยายามรวบรวมข้อเท็จจรงิ เรื่องราวและแนวคิดต่าง ๆ ที่มีอยู่เข้าดัวยกันเพื่อหาความกระจ่างในปัญหา ซึ่งยังไม่ทราบว่าผลที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นไปในรูปแบบใดและอาจใช้เวลานานจนบางครั้งจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว
    2. ขั้นครุ่นคิด คือ ขั้นที่ผู้คิดต้องใช้ความคิดอย่างแต่บางครั้งความคิดอันนี้อาจหยุดชะงักไปเฉยๆเป็นเวลานาน บางครั้งก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่อีก
    3. ขั้นเกิดความคิด คือ ขั้นที่ความคิดจะมองเห็นความสัมพันธ์ของความคิดใหม่ที่ซ้ำกับความคิดเก่าๆซึ่งมีผู้คิดมาแล้ว การมองเห็นความสัมพันธ์ในแนวความคิดใหม่นี้จะเกิดขึ้นในทันทีทันใด ผู้คิดไม่ได้นึกฝันว่าจะเกิดขึ้นเลย
    4. ขั้นปรับปรุง คือ ขั้นการขัดเกลาความคิดนั้นให้หมดจดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายหรือต่อเติมเสริมแต่งความคิดที่เกิดขึ้นใหม่นั้นให้รัดกุมและวิวัฒนาการก้าวหน้าต่อไป ในบางกรณีก่อให้เกิดการประดิษฐ์ผลงานใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์ นวนิยาย บทเพลง จิตรกรรม และการออกแบบอื่นๆ เป็นต้น


วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
  • วันนี้ในช่วงแรกอาจารย์ให้ดูคลิปวิดีโอ " เสียตัว เสียใจ " เป็นข้อคิดให้กับนักศึกษาได้สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยต่อไป

  • ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาออกมาทำท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่คนละ 1 ท่า พร้อมทั้งให้เพื่อนๆ ทำตามท่าของตนเอง 





  • อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 4-5 คน คิดท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ กลุ่มละ 10 ท่า ห้ามซ้ำกัน พร้อมทั้งออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วย


กลุ่มที่ 1 


 กลุ่มที่ 2


 กลุ่มที่ 3


 กลุ่มที่ 4

  • และกิจกรรมสุดท้ายของการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมาทำท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ คนละ 3 ท่า พร้อมทั้งเป็นการฝึกให้นักศึกษาทุกคนสบตากับเพื่อนๆ ในห้องเรียน ขณะที่สอนการทำท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เพื่อให้นักศึกษาทุกคนสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้อย่างไม่เขิลอายเด็กๆ 











การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้
  • นำความรู้หรือวิธีการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เช่น การวิ่งอยู่กับที่ การเดิน หรือการเคลื่อนไหว โดยมีจังหวะ การเคาะให้เกิดเสียงเข้ามาเกี่ยวข้อง
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ไม่สับสน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ อธิบายหรือยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น