Marie - The Aristocats 3

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
 วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559
ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์สอนทฤษฎีเกี่ยวกับ กิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ
 

 ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ แบ่งออกเป็น 
1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ
2. ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง
3. ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
4. ประเภทฝึกจินตนาการจากคำบรรยาย
5. ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น

  • เมื่อได้ยินจังหวะดังเน้นหนัก เด็กอาจนึกถึงการเดินแถวแบบทหารหรือการกระโดดของกบ การควบม้า 
  • เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบาๆ และช้าๆ เด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลม นกกำลังบิน
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง

  • การเล่นเกมประกอบเพลง
  • การเล่นเกมต่างๆ ของไทย
  • การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
  • การเต้นรำพื้นเมือง
เพลงที่มีท่าทางประกอบและการเล่นประกอบเพลง

  • เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้หัดรวบรวมความคิดและสนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เด็กรู้จักบังคับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือ แขน ขา

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่

  • การเดิน
  • การวิ่ง
  • การกระโดดเขย่ง
  • การกระโจน
  • การโดดสลับเท้า
  • การสไลด์
  • การควบม้า
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

  1. การเคลื่อนไหวแบบยืนอยู่กับที่
  2. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่จากที่เดิม
  3. การเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์หรือวัตถุ
การรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกาย

  • การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน เพื่อให้มีความคล่องตัว ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่ง 
บริเวณและเนื้อที่

  • การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นเพียงการขยับเขยื้อนร่างกายบางส่วนหรือการเคลื่อนตัวย่อมต้องการบริเวณและเนื้อที่ที่จะเคลื่อนไหวได้จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตลอดเวลา
ระดับการเคลื่อนไหว

  • ระดับการเคลื่อนไหวทุกชนิดหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความสวยงาม ความสมดุล ความเหมาะสมและท่าทางที่หลากหลายจะไม่เกิดขึ้น
ทิศทางของการเคลื่อนไหว

  • การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวไปรอบทิศ
การฝึกจังหวะ การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี

  1. การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  2. การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
  3. การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
  4. การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว
วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

  • พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
  • ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
  • ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง 
  • สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก
  • ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี
แนวทางการประเมิน

  • สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
  • สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
  • สังเกตการแสดงออก
  • สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม









การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ไม่สับสน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ อธิบายหรือยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ.2559
งดการเรียนการสอน

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
                                               วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2559
ในวันนี้เรียนทฤษฎีของวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย
- ความหมายและความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระ
สัญญาณหรือสัญลักษณ์ ที่ใช้กำหนดความช้าความเร็วของการเคลื่อนไหวมีดังนี้
1. เสียงจากคน เช่น การนับ การออกเสียงคำ
2. เสียงจากเครื่องดนตรี เช่น การเคาะ การตี
3. การตบมือหรือดีดนิ้ว
- ความเป็นมาของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
มนุษย์มีความเกี่ยวพันกับจังหวะอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นจังหวะตามธรรมชาติ หรือการประกอบกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เรามีปฏิกิริยาตอบสนอง......
- ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
มีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปัจจุบัน ซึ่งเต็มไปด้วยการต่อสู้ ดิ้นรนควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัย

เมื่อพิจารณาจากความพร้อมและความสนใจของเด็กปฐมวัย จึงควรจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะให้เด็กในขอบข่ายต่อไปนี้
1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
2. การเคลื่อนไหวเล่นเลียนแบบ
3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง
4. การเล่นเกมประกอบเพลง
5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
6. การเล่นเป็นเรื่องราวหรือนิยาย

การเคลื่อนไหวพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่
องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
1. การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
2. บริเวณและเนื้อที่
3. ระดับของการเคลื่อนไหว
4. ทิศทางของการเคลื่อนไหว
5. การฝึกจังหวะ
หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมตามธรรมชาติ
ชีวิตรอบตัวเด็ก
ชีวิตสัตว์ต่างๆ
ความรู้สึก
เสีงต่างๆ

เนื้อหาการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ

  • การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
  • การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
  • การฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
  • การฝึกความจำ
  • การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
  • การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
  • การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
จุดประสงค์การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ

  • เพื่อให้เด็กได้ออกกำลังกาย
  • พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
  • เพื่อฝึกการฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
  • เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
  • เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
บทบาทครูในการจัดกิจกรรม
  • สนับสนุนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • ครูควรสร้างบรรยากาศให้เด็กมีความมั่นใจ ความกล้า
  • ไม่ควรชี้แนะเด็กในเรื่องความคิดมากเกินไป
แนวทางการประเมิน

  • สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
  • สังเกตทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
  • สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
  • สังเกตการแสดงออก
  • สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

                                          วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ.2559
  • ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้ออกมาเต้นเพลงของตนเองที่ไปฝึกมา








  • อาจารย์ให้นักศึกษาชมคลิปวีดีโอเชิดชูพระคุณครู Teachers 




ดิฉันเต้นเพลง พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เราสามารถนำท่าเต้นไปสอนเด็กได้จากการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว และในขณะเดียวกัน อาจจะมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน มาแลกเปลี่ยนกันระหว่างครูกับเด็ก ๆ
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และสนุกกับการทำกิจกรรม มีความสุขทุกครั้งที่เรียน 
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคนมีความตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทำให้มีเสียงหัวเราะ มีความสนุกสนานในการเรียนเพิ่มมากขึ้น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาก เสมอต้นเสมอปลาย มีแนวการสอนที่น่าสนใจ 












การบันทึกครั้งที่ 1 / วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
  • อาจารย์เริ่มกิจกรรมด้วยการพูดคุยกับนักศึกษาและอธิบายเนื้อหาของวิชานี้ เมื่อเพื่อน ๆ เข้าห้องเรียนครบแล้ว อาจารย์ก็ให้ยืนเป็นครึ่งวงกลม แล้วพาฝึกทำสมาธิอย่างง่าย เช่น มือซ้ายจับจมูก มือขวาจับหูซ้าย, มือซ้ายจีบ มือขวาทำรูปตัว L, มือซ้ายยกนิ้วโป้ง มือขวายกนิ้วก้อย สลับไปมา 10 ครั้ง เป็นต้น


  • เริ่มเข้าสู่กิจกรรมโดยการเต้น T26 ของครูนกเล็ก อาจารย์ให้แต่ละคนคิดท่าและเสียงของสัตว์ที่ตนเองชอบ แล้วออกมาเต้นหน้าชั้นเรียน โดยให้เพื่อน ๆ ทำไปพร้อม ๆ กัน










  • จากนั้น อาจารย์ก็เปิดเพลง T26 โบกโบ๊กโบก แบบต้นฉบับ แล้วให้ทุกคนเต้นตาม จากนั้นก็ให้คิดท่าอะไรก็ได้ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และให้มีเสียงร้องเป็นทำนองเพลงด้วย ดิฉันเต้นท่า ล้างจาน  
  • เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์จึงให้การบ้านว่า ให้ทุกคนไปฝึกเต้น เพลงอะไรก็ได้ตามใจชอบ ตั้งแต่ต้นจนถึงท่อนฮุก แล้วให้ออกมาเต้นหน้าห้องเรียนในชั่วโมงต่อไป






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เราสามารถนำวิธีการฝึกสมาธิอย่างง่ายมาใช้ในการเรียน การทำงาน หรือเมื่อเตรียมพร้อมที่จะทำอะไรก็ตาม ที่ต้องใช้สมาธิมาก ๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลายไปในตัวด้วย
  • เพลง T26 ของครูนกเล็ก ทำให้ได้แนวคิดที่แปลกใหม่ คือ การนำเพลงที่เด็กชอบ หรือเพลงที่ฮิตกันในช่วงนั้น มาดัดแปลงเป็นเพลงที่จะสอนให้เด็กได้รู้จักสัตว์ต่าง ๆ พร้อมท่าทางและเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ และเพลงต้นฉบับ ที่อาจารย์ให้แต่ละคนคิดท่าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วออกมาเต้นหน้าชั้นเรียน ทำให้เราสามารถนำไปสอนเด็กได้จากการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว และในขณะเดียวกัน อาจจะมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน มาแลกเปลี่ยนกันระหว่างครูกับเด็ก ๆ
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและสนุกกับการทำกิจกรรม 
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคนมีความตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทำให้มีเสียงหัวเราะ มีความสนุกสนานในการเรียนเพิ่มมากขึ้น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีแนวการสอนที่น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ